บทความ

PORTFOLIO ที่ดีควรมีอะไรบ้าง?!

รูปภาพ
  Portfolio หรือเรียกชื่อว่า “แฟ้มสะสมผลงาน” ซึ่งหมายถึงแฟ้มที่รวบรวมเรื่องราวต่างๆ ที่สามารถอธิบายถึงความเป็นตัวตนของเราได้ ช่วยให้คณะกรรมการรู้ว่าเราเคยทำอะไรมาบ้าง มีความสามารถอะไรบ้าง ตลอดจนผลงานที่ได้ทำและรางวัลที่ได้รับมา และอาจมีความสอดคล้องกับสาขาวิชาที่เราต้องการสมัครเรียน ขั้นตอนการทำ 1.รวบรวมงาน เตรียมส่วนสำคัญที่คาดว่าจะได้ใช้แน่นอนไว้ก่อน ในแบบของเราไว้ก่อนได้เลย หากศึกษารายละเอียดระเบียบการแล้วมหาวิทยาลัยกำหนดรายละเอียดของ Portfolio มาให้ด้วย ก็ปรับเนื้อหาให้ตรงตามที่กำหนด 2.แยกหมวดหมู่ ได้ แก่ หน้าปก ประวัติส่วนตัว เหตุผลที่เลือกเรียน กิจกรรม(ตามที่มหาลัยกำหนด) 3.คัดเลือกผลงาน - เน้นผลงานที่โดดเด่น ได้รับรางวัล - ถ้ามีเยอะ คัดเฉพาะที่โดดเด่น ไม่จำเป็นต้องใส่ทั้งหมด - ถ้าคัดเฉพาะที่เกี่ยวกับคณะที่สมัครได้จะดีมาก 4.  จัดลำดับความน่าสนใจของผลงานและประเมินตนเอง จะต้องเลือกกิจกรรมที่น่าสนใจและเกี่ยวข้องกับคณะและ สาขาที่จะยื่นลงไปใน Portfolio 5. ลำดับและร้อยเรียงเรื่องราวให้น่าสนใจ  ผลงานควรเรียงจากรางวัลใหญ่ ไปรางวัลเล็ก  เช่น การแข่งขันระดับประเทศ ระดับจังหวัด ระดับภายในโรงเ

ไม่มีความลับในโลกออนไลน์

รูปภาพ
ไม่มีความลับในสังคมออนไลน์ แม้ว่าจะแบ่งปันข้อมูลในเฉพาะ กลุ่มเพื่อน หรือกลุ่มที่คิดว่าไว้ใจได้ แต่ข้อมูลดิจิทัลนั้น เป็นข้อมูลที่ทําซ้ําได้ง่าย คนในกลุ่มที่เราแบ่งปันอาจคัดลอกข้อมูลนําไปเผยแพร่ต่อสาธารณะ รวมทั้ง อาจเกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบทั้งที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจ ทําให้ข้อมูลกลายเป็น ข้อมูลสาธารณะ ข้อมูลบางชนิดไม่ควรเปิดเผย ข้อมูลด้านสุขภาพ ด้านการเงิน หรือหมายเลขบัตรประจําตัวประชาชน เป็นข้อมูลที่ต้องระวัง ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลของตนเอง หรือของผู้อื่นก็ตาม เพราะ เป็นข้อมูลที่ผู้ไม่ประสงค์ดีสามารถนําไปใช้แสวงหาผลประโยชน์ได้ ข้อมูลบางชนิดอาจถูกนํามาใช้หลอกลวง ข้อมูลบางชนิดอาจดูไม่น่าจะเป็นอันตรายในการแบ่งปัน เช่น วันเกิด ตําแหน่งหน้าที่การงาน การศึกษา ชื่อเพื่อน ผู้ไม่ ประสงค์ดี อาจใช้ข้อมูลเหล่านี้ทําการฟิชชิง (phishing) เพื่อหลอกลวงเอาข้อมูล สําคัญของเราได้ การรักษาข้อมูลที่ได้รับการปกป้องตามกฎหมาย ข้อมูลที่มีลิขสิทธิ์หรือข้อมูลส่วนตัว เช่น ผลงานเพลง ประวัติคนไข้ หรือ หมายเลขบัตรประจําตัวประชาชนเป็นข้อมูลที่ได้รับความคุ้มครองทางกฎหมาย หากนําไปเผยแพร่ อาจทําให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของข

สื่อสารแต่ไม่เข้าใจ?

รูปภาพ
ทุกคนเคยประสบปัญหาการสื่อสารกันแล้วไม่เข้าใจกันบ้างมั้ยคะ วันนี้ดิฉันจึงจะมาแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับรูปแบบการสื่อสาร  การสื่อสารประกอบด้วย ผู้ส่ง สาร ช่องทาง ผู้รับ ผู้ส่ง ผู้ที่มีสารหรือเนื้อหาข้อมูล และมีความต้องการที่จะส่งสารไปยังผู้รับโดยผู้ส่งจะต้องคํานึงถึงจุดประสงค์ของการส่สาร และความสามารถในการรับสารของผู้รับ เพื่อนํามาพิจารณาเลือก รูปแบบและช่องทางในการสื่อสาร สาร ข้อมูล หรือสิ่งที่ผู้ส่งต้องการให้ผู้รับได้รับรู้โดยสารนั้นอาจมีได้หลายรูปแบบ เช่น เสียงพูด ข้อความ หรือภาพ ช่องทาง เป็นวิธีการในการส่งสารจากผู้ส่งไปยังผู้รับ เช่น การใช้โทรศัพท์ การสื่อสารผ่านสื่อสังคม หรือการพูดคุยกับผู้รับ โดยตรง โดยแต่ละช่องทางจะส่งสารให้ผู้รับผ่านประสาทสัมผัส ทั้ง 5 ในลักษณะและปริมาณที่ต่างกัน ผู้รับ   มีหน้าที่แปลความหมายของสารที่ผู้ส่งนําเสนอ ซึ่งความสามารถในการแปลจะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น การศึกษา วุฒิภาวะ พื้นฐานทางสังคม ความเชื่อ หรือแม้กระทั่งความสนใจ ในสารที่ได้รับ